20 กันยายน 2563

Covid-19

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โควิด-19 ส่งผลต่อผู้คนในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และหายจากโรคได้เองโดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล อาการทั่วไปมีดังนี้ •มีไข้ •ไอแห้ง •อ่อนเพลีย อาการที่พบไม่บ่อยนักมีดังนี้ •ปวดเมื่อยเนื้อตัว •เจ็บคอ •ท้องเสีย •ตาแดง •ปวดศีรษะ •สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส •มีผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี อาการรุนแรงมีดังนี้ •หายใจลำบากหรือหายใจถี่ •เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก •สูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว โปรดเข้ารับการรักษาทันทีหากมีอาการรุนแรง และติดต่อล่วงหน้าก่อนไปพบแพทย์หรือไปสถานพยาบาลเสมอ ผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงและไม่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ควรรักษาตัวอยู่ที่บ้าน โดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่ติดเชื้อไวรัสจะแสดงอาการป่วยใน 5-6 วัน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจใช้เวลานานถึง 14 วันจึงจะแสดงอาการ วิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 •ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์ •รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้ที่ไอหรือจาม •สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเว้นระยะห่างไม่ได้ •ไม่สัมผัสตา จมูก หรือปาก •ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม •เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย •หากมีไข้ ไอ และหายใจลำบากโปรดไปพบแพทย์ โปรดติดต่อล่วงหน้าเพื่อที่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจะแนะนำให้คุณไปยังสถานพยาบาลที่ถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยปกป้องคุณ รวมถึงป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสและการติดเชื้ออื่นๆ หน้ากากอนามัยช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ที่สวมแพร่กระจายไวรัสไปยังผู้อื่น อย่างไรก็ตาม หน้ากากอนามัยเพียงอย่างเดียวป้องกันเชื้อโควิด-19 ไม่ได้ จึงควรรักษาระยะห่างและหมั่นทำความสะอาดของมือร่วมด้วย รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนสำหรับป้องกันและรักษาโรคโควิด-19 โดยเฉพาะ การรักษายังอยู่ภายใต้การตรวจสอบและจะได้รับการทดสอบในการวิจัยทางคลินิก องค์การอนามัยโลก ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ who.int

27 สิงหาคม 2563

วิทยาการข้อมูล(Data Science)

 Data Science คืออะไร?

Data Science หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) > การจัดการข้อมูล (Manage) >  การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) > ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช่วยตัดสินใจ (Decision) 

Data Science ประกอบด้วย Computer Science + Maths & Stats + Business Domain Expert ? ได้แก่

  • Computer Science – วิทยาการคอมพิวเตอร์ เช่น การเขียนโปรแกรม, อัลกอริธึม, โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)
  • Maths & Statistics – คณิตศาสตร์ และสถิติ
  • Business / Domain Expertise – ความรู้ด้านธุรกิจ 

       ขั้นตอนการทำ Data Scienceแต่ละขั้นตอนต้องทำอะไรกันบ้าง
     1.Collect เก็บข้อมูล 
     2.Manage จัดการข้อมูล
     3.Analyze วิเคราะห์ข้อมูล
     4.Decision นำข้อมูลมาช่วยตัดสินใจ

     

ยุค 5G/6G , Iot , AI

ยุค 5G/6G  ,Iot  , AI

เทคโนโลยี 5G มาชำแหละและดูว่ามีปัจจัยไหนที่สามารถเป็นตัวขับเคลื่อนให้พัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย และ 6G น่าจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยี AI 

ก่อนอื่นต้องปูทางเกี่ยวกับ 5G สักหน่อย อย่างแรกเลยที่ต้องบอกก็คือว่า 5G นั้นพัฒนามาไกลกว่ามาตรฐานของ 4G ที่เราใช้อยู่ตอนนี้เป็นอย่างมาก อย่างแรกคือเรื่องความเร็ว ซึ่งเร็วกว่า 4G อย่างที่เรียกว่าเทียบกันไม่เห็นฝุ่น โดย 5G จะมีความเร็วประมาณ 20Gbps เทียบกับ 4G แล้วจะเร็วกว่า 100-200 เท่า! (4G อยู่ที่ 10-20 Mbps) ถ้าเปรียบเทียบเป็นภาพยนตร์ HD สักเรื่องบน 4G ถ้าไปอยู่บน 5G ก็จะดูหนังแบบ 8K ได้ประมาณ 400 เรื่องในเวลาเดียวกัน และนั้นอาจจะฟังดูน่าทึ่งแล้วในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่จบเท่านั้น สิ่งที่ทำให้ 5G นั้นน่าสนใจอีกอย่างคือ Low Latency Rate หรือความไวในการตอบสนองของข้อมูล สามารถสั่งงานควบคุมสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่าแทบจะทันที จากตอน 4G เฉลี่ยใช้งานจริงจะอยู่ราว 100-200ms แต่เมื่อเป็น 5G จะลดลงไปถึง 100 เท่า เหลือน้อยกว่า 1ms ทางทฤษฎี

5G 

สมมติว่าตอนนี้เราใช้เครือข่าย 5G บนสมาร์ตโฟนอยู่ อย่างแรกที่เราจะเห็นได้ชัดๆ เลยคือเรื่องความเร็วที่จะมาช่วยเพื่มอรรถรสในการเสพมีเดียแบบความคมชัดสูง Netflix หรือ YouTube กดเล่นปุ๊บจะไม่มีวงกลมหมุนๆ ที่ต้องรอคอยอีกต่อไป ทุกอย่างจะเป็น HD ทั้งภาพและเสียง สำหรับเหล่าเกมเมอร์สามารถนั่งเล่นเกมส์ออนไลน์ที่เชื่อมต่อกับผู้เล่นมากมายบนโลกใบนี้ด้วย VR Headset หรือ Smartphone แบบ Real-time ไม่มีการกระตุก ไม่มีหน่วง

นอกจากเรื่องความบันเทิงแล้วก็ยังมีเรื่องอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตทั้งหลายที่จะได้ประโยชน์ ลองคิดถึงหุ่นยนต์ที่ใช้ในการทำการผ่าตัด อุปกรณ์เหล่านี้สามารถถูกควบคุมโดยนายแพทย์อันดับหนึ่งของโลกจากบ้านของตัวเองในอเมริกา โดยมีผู้ช่วยที่กำลังเดินทางอยู่เมืองไทย และการผ่าตัดเกิดขึ้นที่แอฟริกา หรือแม้กระทั่งการทำการเกษตรแบบระบบอัตโนมัติ โดรนที่คอยตรวจตราอยู่บนอากาศคอยพ่นปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช หุ่นยนต์บนพื้นดินคอยเก็บตัวอย่างดินและปุ๋ยไปวิเคราะห์ หุ่นยนต์ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อถึงเวลา นี่คือเรื่องของความเป็นความตายและเทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้ามาช่วยทำให้ชีวิตของคนบนโลกนี้ดีขึ้น

อีกประเด็นหนึ่งที่คนมักลืมพูดถึงกันเพราะไปจดจ่อเพียงแค่ความเร็วก็คือเรื่องการรองรับผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่เท่าเดิม เพราะ 5G นั้นมีเสาสัญญาณขนาดเล็ก เนื่องจากมีคลื่นความถี่ที่สั้นกว่า 4G จึงทำให้ต้องมีเสาสัญญาณติดอยู่ทั่วบริเวณ (5G ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Millimeter Waves ที่ความถี่สูงและความยาวคลื่นสั้นกว่า 4G ซึ่งปัญหาใหญ่ของมันก็คือมันส่งสัญญาณไปไม่ได้ไกลเท่าไหร่ ในคลื่นของ 4G เราอาจจะห่างจากเสาสัญญาณได้ไกลเกือบ 10 กิโลเมตร ส่วน 5G ไกลสุดได้แค่ประมาณ 300 เมตรเท่านั้น แถมยังผ่านผนังไม่ได้และถ้าอากาศไม่ดีฝนตกก็สัญญาณหายได้เช่นกัน

เพราะฉะนั้นทางแก้ไขปัญหานี้ก็คือการสร้างจุดรับส่งสัญญาณขนาดเล็กที่มีเต็มไปหมดทุกแห่งในพื้นที่) โดยการมีจุดรับส่งสัญญาณมากมายแบบนี้นำมาซึ่งประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของ 5G ก็คือสามารถรองรับอุปกรณ์ได้มากขึ้นในขนาดพื้นที่เดียวกัน เมื่อเทียบกับ 4G เพิ่มขึ้น 10 เท่าจากที่สามารถรับคนได้ราว 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. กลายเป็น 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากในกรณีที่คนมารวมตัวกันเยอะๆ อย่างงานแข่งขันกีฬาระดับโลก การประชุมขนาดใหญ่ ฯลฯ และนำไปสู่การใช้งานในหลายรูปแบบของอุปกรณ์ Internet of things (IoT) อีกด้วย



6G

ข้อมูลอะไรที่กันที่จะสามารถได้รับผลประโยชน์จากสิ่งนี้ จากคำอธิบายของ Stocia และ Abreu พวกเขาบอกว่ามันจะทำให้เหล่า AI นั้นเชื่อมโยงหากันและช่วยกันแก้ไขปัญหาระดับที่ซับซ้อนในทันที ยกตัวอย่างเช่นการขับเคลื่อนรถยนต์ไร้คนขับในเมืองขนาดใหญ่ที่ต้องมีการเชื่อมโยงกันและส่งต่อข้อมูลถึงกันอย่างมหาศาลระหว่างสมองกลที่เกี่ยวข้องในวินาทีนั้น คิดถึงรถยนต์จำนวนเกือบสามล้านคันที่เข้าออกเมืองหลวงอย่างนิวยอร์กทุกวัน นี่จะเป็นปัญหาที่ได้รับการแก้ไขโดยสมองกลที่สื่อสารกันตลอดทุกวินาที

รถยนต์ไร้คนขับคันหนึ่งที่ถูกขับเคลื่อนด้วย AI จะคอยส่งรับส่งสัญญาณจากสิ่งรอบข้างและตอบสนองตามความจำเป็น ตำแหน่งที่ตั้งของรถยนต์จะถูกส่งออกไปสู่พื้นที่โดยรอบ เสาไฟฟ้า พื้นถนน ไฟจราจร ทุกอย่างจะมี AI อยู่ในนั้นเพื่อคอยถ่ายทอดข้อมูลถึงกัน รถจักรยานที่ปั่นบนถนน มอเตอร์ไซค์ ปลอกคอน้องหมา นาฬิกาข้อมือของคนวิ่งออกกำลังกาย ฯลฯ AI เหล่านี้จะคอยบอกว่าให้ระวังอะไร เลี้ยวไปทางไหน ต้องเลี่ยงเส้นทางไหนเพื่อจะให้ถึงปลายทางเร็วที่สุด

สิ่งเหล่านี้ล้วนใช้พลังในการคำนวณอย่างหนักหน่วง สมองกลในรถยนต์แต่ละคันต้องสร้างเครือข่ายกับสิ่งต่างๆ โดยรอบอยู่ตลอดเวลา เมื่อผ่านจุดหนึ่งไปก็ต้องไปสร้างเครือข่ายใหม่เรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเป้าหมาย 

Stoica และ Abreu กล่าวว่า

“การที่จะแก้ไขปัญหาที่กระจายตัวในการเชื่อมโยงกัน การสื่อสารด้วยข้อมูลจำนวนมากจะเป็นสิ่งจำเป็น ปริมาณของข้อมูลขนาดใหญ่และความรวดเร็วในการตอบสนองที่มากกว่า 5G จะขาดไม่ได้เลย”

แน่นอนว่านี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยที่ 6G น่าจะเป็นประโยชน์และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม มีความท้าทายอีกหลายอย่างที่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีที่คล้ายคลึงกันอย่างเช่น การตรวจสอบตลาดและวางแผนการเงิน การตรวจเช็คข้อมูลสุขภาพของคนไข้ การตอบสนองและคาดเดาถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบ real-time ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความก้าวหน้าที่ไม่เคยมีใครคาดเดาว่าจะสามารถทำได้มาก่อน

แต่กว่าจะถึงตอนนั้น (น่าจะสักช่วง 2030 เพราะแต่ละ generation ใช้เวลาประมาณ 10 ปี) ยังมีอะไรอีกมากมายที่จะต้องเกิดขึ้น 6G ยังคงห่างไกลและภาพยังเลือนลาง คงต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าทุกอย่างจะลงตัวและสรุปออกมาให้ทุกคนได้รับรู้ แต่ถ้า Stoica และ Abreu เกิดคาดการณ์ถูกต้องขึ้นมา สมองกลจะกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาโลกของเราต่อไปข้างหน้า เทคโนโลยี AI จะเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังและกำหนดทิศทางของสิ่งอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นรวมถึง 6G ด้วย








AI ทำงานผ่านระบบแอปพลิเคชันไปได้สักพัก เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เช่น การเรียนรู้ขับยานพาหนะ, การเรียนรู้การเกษตร ซึ่งจะเริ่มที่จะเกิดการตัดสินใจเกิดขึ้นระบบจะมีการสั่งการด้วยการเรียงลำดับความเป็นไปเพื่อการตัดสินใจของข้อมูล ซึ่งจะต้องรับส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก ซึ่งทางระบบจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์มากก็ยิ่งต้องรับส่งสัญญาณทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเช่นกัน เช่น หากต้องให้ AI ขับรถยนต์อิสระด้วยระยะทางประจำก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าต้องขับรถนอกเส้นทาง ระบบจะต้องมีการประมวลผลบนแผนที่ที่กว้างขึ้น กระบวนการทางความคิดและการตัดสินใจย่อมใหญ่ขึ้น นั้นเท่ากับว่าต้องรับส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นซึ่ง 5G เป็นเพื่อโครงสร้างพื้นฐานที่จะมารับรองสถานการณ์นี้ โดยที่ในอนาคตจะเกิดการรบกวนของสัญญาณ และเกิดการใช้แบนด์วิดท์(ช่องสัญญาณในการรับส่งสัญญาณ) มากกว่าเดิม ซึ่งเมื่อถึงยุคนั้นระบบ 5G จะเกิดขีดความสามารถอย่างแน่นอน

Big Data

 Big Data คืออะไร

     Big Data คือ ข้อมูลขนาดใหญ่/ปริมาณมาก หรือ ข้อมูลจำนวนมากมหาศาล ทุกเรื่อง ทุกแง่มุม ทุกรูปแบบ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน (Structured Data) เช่น ข้อมูลที่เก็บอยู่ในตารางข้อมูลต่างๆ หรืออาจเป็นข้อมูลกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Data)  เช่น ล็อกไฟล์ (Log files) หรือแม้กระทั่งข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เช่น ข้อมูลการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ผ่านสังคมเครือข่าย (Social Network) เช่น Facebook, twitter หรือ ไฟล์จำพวกมีเดีย เป็นต้น ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลภายในองค์กรและภายนอกที่มาจากการติดต่อระหว่างองค์กร หรือจากทุกช่องทางการติดต่อกับลูกค้า แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังคงเป็นเพียงข้อมูลดิบที่รอการนำมาประมวลและวิเคราะห์เพื่อนำผลที่ได้มาสร้างมูลค่าทางธุรกิจ ข้อมูลเหล่านี้อาจจะไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่องค์กรสามารถนำไปใช้ได้ทันที แต่อาจมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรบางอย่างแฝงอยู่ 

                มีคุณลักษณะสำคัญอยู่ 4 อย่าง คือ

  1. ปริมาตร (Volume) หมายถึง ข้อมูลนั้นมันต้องมีขนาดใหญ่มาก ซึ่งไม่สามารถประมวลผลปริมาณของข้อมูลด้วยระบบฐานข้อมูลได้ จำเป็นต้องใช้คลังข้อมูล (Data Warehouse) และซอฟต์แวร์ฮาดูป (Hadoop) ทำงานประสานกันในการบริหารจัดการข้อมูล
  2. ความเร็ว (Velocity) หมายถึง ข้อมูลดังกล่าวต้องมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ข้อมูลจากภาพถ่ายโทรศัพท์ที่ถูกอับโหลดขึ้น ข้อมูลการพิมพ์สนทนา ข้อมูลวิดีโอ รวมไปถึงข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า
  3. ความหลากหลาย (Variety) หมายถึง รูปแบบข้อมูลต้องมีความหลากหลาย อาจจะเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง และกึ่งมีโครงสร้าง รูปแบบข้อมูลของ Big Data มันมีทุกอย่าง ไม่ได้จำกัดแค่พวกข้อความ อีเมล์ รูปภาพ ฯลฯ เท่านั้น 
  4. Veracity ไม่สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ เพื่อการประกอบการพิจารณาได้  
         การใช้ประโยชน์จาก Big Data

       ในปัจจุบัน การนำ Big Data มาใช้ในภาครัฐ เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนและลดความเหลื่อมล้ำ โดยนำข้อมูลในระบบราชการจากหลายหน่วยงาน เช่น ข้อมูลสาธารณสุข ทะเบียนราษฎ์ ที่ตั้งของธุรกิจ โรงพยาบาล สถานบำบัด สถานการณ์จ้างงานฯ มาวิเคราะห์และการเชื่อมโยงกัน เกิดเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data ของภาครัฐ ผ่านกระบวนการวิเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อตอบการให้บริการของภาครัฐ ตัวอย่างเช่น รัฐบาลต้องการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย แต่แทนที่จะช่วยเหลือโดยให้เงินอุดหนุนที่เท่าๆ กันแบบปูพรมทั้งประเทศ ก็นำ Big Data ซึ่งเป็นข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาใช้ชี้จำเพาะว่าบุคคลใดที่ถือว่ามีรายได้น้อย พร้อมทั้งกำหนดระดับและลักษณะความช่วยเหลือที่แตกต่างกัน เช่น ผู้มีรายได้น้อยที่สูงอายุ เป็นผู้พิการ อยู่กับบ้าน ให้ลูกหลานดูแล รัฐอาจช่วยโดยสนับสนุนขาเทียม ให้คูปองเข้ารับการทำกายภาพบำบัด  พร้อมทั้งเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับกายภาพของผู้สูงอายุ

       อ้างอิง

  • บทความสาธารณะ Wikipedia https://th.wikipedia.org/wiki/ข้อมูลขนาดใหญ่
  • G-ABLE
  • Aware Group
  • Big data IBM Analytics